ต้นแบบระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
สำหรับควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน

The Internet of Things Prototype for Controlling Hydroponic Vegetables Planting through Smartphones Applications

บทคัดย่อ

การพัฒนาต้นแบบระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน มีการนำเอาระบบโมโครคอนโทลเลอร์ โหนดเอ็มซียู (Node MCU) เข้ามาช่วยในการทำการประมวลผลและสั่งการควบคุมระบบไฟฟ้าภายในตู้ทดลอง ที่มีการควบคุมการทำงานด้วยแอปพลิเคชันบนสมาร์โฟนที่ทำการควบคุมการทำงานผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยระบบที่พัฒนาขึ้นมานี้จะเชื่อมต่อไฟล์เบส (Firebase) ที่เป็นตัวเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ และใช้โปรโตคอลเอ็มคิวทีที (Protocol MQTT) ในการรับส่งข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาจึงจะสามารถทำงานได้ โดยระบบควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จะทำงานได้ 2 โหมด คือ โหมดตั้งค่าควบคุมการทำงานแบบครั้งเดียว และโหมดตั้งค่าการทำงานอัตโนมัติ สามารถปรับระดับโดยเปิดปั๊มน้ำเข้า–ออก เพื่อให้น้ำอยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถเปิด-ปิดไฟเพื่อให้แสงสว่างตามความเหมาะสม สามารถดูค่าของแสง ระดับน้ำ อุณหภูมิในตู้ทดลองเพาะปลูกผัก ความสูงของผักไฮโดรโปนิกส์ และ สามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงภายในตู้ทดลองเพาะปลูกผักโดยดูผ่านกล้องได้ด้วย ซึ่งระบบที่พัฒนาจะสามารถนำไปใช้ในการควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ในห้องพักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด และแสงสว่างไม่เพียงพอให้สามารถปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ได้อย่างอัตโนมัติ อีกทั้งยังสามารถแจ้งเตือนการเก็บเกี่ยว เมื่อครบระยะเวลากำหนด หรือมีความสูงถึงระดับที่เหมาะสมต่อการรับประทาน จะมีการแจ้งเตือนผ่าน ไลน์ (Line) ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เพาะปลูก หรือไม่มีเวลาดูแลอย่างสม่ำเสมอ สามารถควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 

สรุปผลการศึกษา

ต้นแบบระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสามารถทำงานได้ตามจุดประสงค์ โดยสามารถใช้ได้ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน โดยที่ระบบที่พัฒนานี้สามารถ วัดระดับน้ำ วัดค่าแสง วัดอุณหภูมิและความชื้น วัดความสูงของผัก สามารถตั้งค่าให้ระบบอยู่ในโหมดอัตโนมัติ สามารถตั้งวัน เดือน ปี ที่เริ่มปลูกผักได้ ซึ้งทั้งหมดนี้เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ที่ใช้งานเป็นอย่างมาก และยังสามารถปรับเปลี่ยนการปลูกผักในแบบต่าง ๆได้โดยที่ไม่ต้องเข้าไปใกล้ตู้ทดลอง สามารถดูกล้องเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของผักที่ปลูก ว่ามีการเปลี่ยนแปลงตามที่ผู้ใช้ต้องการหรือไม่ และยังทำให้ทราบความเป็นไปแม้ผู้ใช้จะไม่ได้เข้ามาดูแลผักหรือแม้แต่ผู้ใช้อยู่นอกบ้าน

Screenshot

ภาพตัวอย่างการใช้งาน

อาจารย์ที่ปรึกษา

Contact Sirirat

Contact Pattaraporn